Last updated: 5 เม.ย 2566 | 287 จำนวนผู้เข้าชม |
นายหน้าอสังหาฯ หรือที่หลายคนคุ้นหูกับคำว่า เอเจนท์ (Agent) และ โบรกเกอร์ ก่อนจะเริ่มต้นทำอาชีพนี้ก็ควรจะรู้ก่อนว่า ‘นายหน้า’ คืออะไร? ถ้าให้พูดเข้าใจแบบง่ายๆ เลย นายหน้า หรือบางคนก็เรียกว่า โบรกเกอร์ (Broker) หรือ เอเจนท์ (Agent) คือ ตัวแทนของผู้ซื้อหรือผู้ขาย เป็นผู้จัดการหรือผู้ชี้ช่องทางการขายอสังหาฯ พร้อมเจรจาต่อรองระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ให้ได้ข้อตกลงที่พึงพอใจของทั้งสองฝ่ายและ มีหน้าที่การทำธุรกรรมต่างๆ ให้ผู้ซื้อและผู้ขายได้เข้ามาทำสัญญากัน ตั้งแต่ช่วยเจรจาต่อรองระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย “คู่สัญญา” จนได้ข้อตกลงซื้อขายเป็นที่เรียบร้อยหากทำการตกลงซื้อขายหรือเช่าอยู่สำเร็จก็จะได้รับเงินค่าบำเหน็จหรือที่เราเรียกกันว่า ‘เงินค่านายหน้า’ นั่นเองครับ
1. นายหน้าโครงการ คือ กลุ่มนายหน้าอสังหาฯ ในรูปแบบบริษัทหรือนิติบุคคล
2. นายหน้าท้องถิ่น คือ กลุ่มนายหน้าอิสระ มักอยู่ในพื้นที่นั้นๆ
3. นายหน้าโบรกเกอร์ คือ กลุ่มนายหน้าในรูปแบบนิติบุคคล
4. นายหน้าร่วม คือ เป็นรูปแบบของนายหน้าที่มีการทำงานทั้ง 2 ฝ่าย ผู้ซื้อและผู้ขาย
1. รู้จักตลาดอสังหาฯ
สิ่งแรกที่ต้องทำคือ หาข้อมูลของทรัพย์ ในที่นี้หมายถึง ตลาดซื้อ-ขายอสังหาฯ ทั้ง Listing ลงประกาศตามเว็บไซต์ หรือระบบ Offline ป้ายประกาศ อินเตอร์เน็ต ญาติพี่น้องเพื่อนๆ เพื่อมาขายซึ่งทั้งหมดนายหน้าอสังหาฯ จำเป็นต้องทำความรู้จักกับตลาดนี้ ไปพร้อมกับการทำข้อมูล เพื่อเสนอขายได้ตรงกับความต้องการของลูกค้า แต่สำหรับนายหน้ามือใหม่แนะนำให้เริ่มหาจากแหล่งที่ตนเองรู้หรือเชี่ยวชาญเช่นเริ่มจากแถวบ้านแถวที่ทำงาน เริ่มจากทรัพย์เล็กๆก่อนเพื่อฝึกฝนความรู้ความสามารถเมื่อชำนาญแล้วค่อยขยับเริ่มจับทรัพย์ใหญ่ ช่วงแรกเพราะยังไม่มีนักลงทุนที่รู้จักแต่พอทำไปสักพักคุณเริ่มมีเครือข่ายรู้จักนักลงทุนคราวนี้การปิดจ๊อบไม่ยากเลย
2. เข้าใจเรื่องสัญญา
สัญญาการแต่งตั้งนายหน้าจะมีด้วยการ 2 แบบบคือแบบเปิดและแบบเปิด
สัญญาแบบเปิด จะใช้นายหน้าหลายคนทำหน้าที่พร้อมกันในการขายอาจเพิ่มโอกาสในการขายได้เร็วขึ้น หรือสัญญาที่ให้เจ้าของอสังหาฯ หรือนายหน้าท่านใดก็ได้ขาย พร้อมค่าตอบแทนแต่เพียงผู้เดียว โดยสัญญาจะไม่มีการกำหนดระยะเวลาจนกว่าจะปิดการขายสำเร็จ ทำให้ไม่ค่อยมีนายหน้าอสังหาคนไหนทุ่มกับการขายให้กับสัญญาลักษณะนี้
สัญญาแบบปิด ให้สิทธินายหน้าผู้นั้นเพียงผู้เดียวในการขาย โดยระบุในสัญญาสิ้นสุดเมื่อใด หรือสัญญาที่มอบหมายให้นิติบุคคลเป็นผู้ดูแลการขายเพียงผู้เดียว โดยตัวสัญญาจะมีการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการว่าจ้าง ซึ่งทำให้มีแรงจูงใจในการขาย ไม่ต้องกังวลว่าจะแข่งกับใครทำให้กระตือรือร้น หากขายไม่สำเร็จ เจ้าของอสังหาฯ ถึงจะสามารถจ้างนายหน้าท่านอื่นได้
3. ให้คำปรึกษาเรื่องสินเชื่อ
นายหน้าอสังหาจำเป็นต้องมีความรู้ เพื่อยื่นกู้ขอสินเชื่อให้กับลูกค้า(ผู้ซื้อ) หากนายหน้ามีความรู้เรื่องสินเชื่อ โดยเฉพาะสินเชื่อที่อยู่อาศัย ก็จะสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้ซื้อ เพื่อเลือกรูปแบบสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยที่ต้องการได้ และเป็นโอกาสที่จะช่วยให้ปิดการขายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และการปล่อยสินเชื่อแต่ละสถาบันการเงินจะมีเงื่อนไขแตกต่างกันไป ไม่ใช่ว่าจะเลือกธนาคารไหนก็ได้ นายหน้าอสังหาต้องมีความรู้ข้อมูลของแต่ละธนาคาร
4. นายหน้าอสังหาฯต้องรู้จักข้อกฎหมายขั้นตอนการทำธุรกรรมสำนักงานที่ดิน
ต้องรู้จักพวกเอกสารต่างๆ บัตรประชาชน บัตรข้าราชการ สำเนาทะเบียนบ้าน รวมถึงค่าธรรมเนียมการเสียภาษีต่างๆ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายซึ่งใช้ราคาประเมินจากกรมที่ดินเป็นเกณฑ์ ภาษีธุรกิจเฉพาะที่ผู้ขายต้องเสีย ถ้าถือครองไม่ถึง 5ปี หรือโอนชื่อเข้าทะเบียนบ้านไม่ถึง 1 ปีต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% รวมถึงอากรแสตมป์และค่าธรรมเนียมในการโอนควรมีความรู้เบื้องต้นเพื่อแจ้งให้ลูกค้าเตรียมไว้
สิ่งที่นายหน้าอสังหาฯ ต้องมี
· ความรู้ ทักษะ
· คอนเนคชัน
· ฐานข้อมูล ( ห้องคอนโด, บ้านที่จะประกาศขาย/ให้เช่า )
· ประสบการณ์
สนใจคอร์สเรียนอสังหาหรือปรึกษาด้านการลงทุนอสังหา
สถาบันสอนอสังหา Future Developer Academy
30 พ.ค. 2566
26 พ.ค. 2566
16 พ.ค. 2566
1 มิ.ย. 2566