การทำ Cashflow อสังหาฯคืออะไร และมีขั้นตอนทำอย่างไรบ้าง

636 จำนวนผู้เข้าชม

ธุรกิจอสังหาคือ ธุรกิจ Cashflow 

               ช่วงปลายเดือนกับต้นเดือน ปกติจะเป็นช่วงที่แพรรินทน์วุ่นวายกับตัวเลข เพราะทั้งตรวจสอบรายการจ่ายและดูยอดโอนตลอดเดือน  สำหรับ ธุรกิจอสังหา….ถือเป็นการบริหารจัดการกระแสเงินสดที่ถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้แต่ละบริษัทเติบโตได้ไม่สะดุด เพราะธุรกิจนี้เน้นหมุนเงินจำนวนมาก   ยิ่งถ้ามีหลายโครงการหมุนเงินกันสนุกเลย การทำ Cash Flow จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะจะได้ทำการประมาณการเงินเข้าเงินออก ต้องระดมทุนเท่าไรให้ได้แม่นยำที่สุดเพื่อที่ต้นทุนการเงินจะได้ต่ำที่สุด ‼️ สำหรับธุรกิจแนวราบการทำ Cashflow ก็แบบนึง แนวสูง ก็แบบนึง การ Forecast ตัวเลขเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะได้รู้ว่าต้องใช้เงินเท่าไร จะมาจากเงิน “กู” หรือ เงิน “กู้” เงิน “กู้” ก็มีหลายรูปแบบ จริงๆ ทาง Land for Loan ที่แพรรินทร์เป็นเจ้าของอยู่ ก็มีแหล่งเงินจำนอง ให้ 50-60% ของราคาประเมิน แต่ดอกแพงหน่อย 12-15%ต่อปี ใช้สั้นๆพอไหว แต่ใช้ยาวๆ ดอกกินตาย ใครสนใจ inbox มาส่วนตัวนะ ไม่ค่อยสนับสนุนเท่าไหร่ ดอกแพง แต่ถ้าใครจำเป็นบอกมานะ จัดให้ค่ะ การทำ Cashflow ถ้าใช้แค่ลงต้นทุนรับจ่าย จะว่าง่ายก็ง่าย ใครที่บอก Cashflow ง่ายแสดงว่าท่านยังไม่รู้จัก Cashflow ดีพอ ถ้าพูดถึงการใช้ Cashflow เพื่อทำ Valuation จะว่ายากก็ยาก เพราะต้องใช้ความรู้ทางการเงินประกอบ ( ในขั้นตอนนี้ร้อยละ 80-90 … คนทำอสังหาทั่วไปคือทำไม่ได้และไม่เข้าใจ )  คุยต่อเรื่องการหมุนเงินทำโครงการ ไม่ว่าจะ กู้สร้าง หรือ จัดสรร ภาพรวมกระบวนการคล้ายๆกัน มีบางส่วนต่างกันเล็กน้อย แต่ในกฎหมายจัดสรรมีกระบวนการมากกว่ามาก

#การหมุนเงิน #การสร้างบ้านขาย  ตลอดระยะทางกว่าจะเป็นหนึ่งโครงการ
          –  ไหนจะต้องออกไปมองหาที่ดินเปล่า ตาม อัตราส่วนของ Robert kiyosaki 100:10:3:1
          –  สำรวจตลาดเคาะต้นทุน เช็คข้อมูล
          –  เจราจากับเจ้าของที่ดิน
          –  วางแผนระดมทุน
          –  ติดต่อเขต หรือ เทศบาล หรือ อบต.
          –  ติดต่อหาผู้รับเหมาก่อสร้าง
          –  ทำภาพ 3D…ทำการตลาด
          –  คุมเข้มเรื่องก่อสร้าง เช่น วางผัง ตอกเสาเข็ม …..บริการจัดการไม่ให้งบบานปลาย ก่อสร้างให้เสร็จทันในระยะเวลาที่กำหนด
          –  ขอบ้านเลขที่เพื่อขอใช้ น้ำประปา ไฟฟ้าถาวรต่อไป
          –  ทำการโอนกรรมสิทธิ์ สรุปตัวเลขค่าธรรมเนียมการโอน

โปรโมชั่น พื้นที่ห้องชุดหรือตัวบ้านสุทธิ
ภาษีต่างๆ ใครจ่าย Developer หรือลูกค้า
          –  วนลูปกลับไปข้อ1 ใหม่ หรือถ้าปิดจบเร็วจนยอดขายถล่อมทลายอาจจะให้รางวัลตัวเองโดยการอออกรถหรู ก็ว่าไป 

          นี่แค่ขั้นตอนอย่างย่อ ในความเปนจริงมีรายละเอียดอีกมาก
          ทุกขั้นตอนที่กล่าวมา ล้วนมีเรื่อง “เงิน” เกี่ยวข้องทั้งสิ้น วางแผนให้ดีแต่ต้น มีชัยไปกว่าครึ่ง 
~แพรรินทร์ เรืองปัญญาวุฒิ

เก็บตกบรรยากาศการเรียน #คอร์สการเงินอสังหา❤️Real Estate Feasibility & Cashflow รุ่นที่ 1 คอร์สสุดท้ายของปี 2563

บทความแนะนำ

สนใจคอร์สเรียนอสังหาหรือปรึกษาด้านการลงทุนอสังหา
สถาบันสอนอสังหา Future Developer Academy