สถิติภาวะราคาที่ดินในรอบ 36 ปี (2528-2564) ราคาที่ดินสูงขึ้น 72.6 เท่า
AREA เปิดผลสำรวจราคาที่ดินรอบ 36 ปี (2528-2564) ราคาแพงขึ้น 72 เท่า
หรือเท่ากับเพิ่มขึ้นปีละ 12.64% ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยเงินกู้ และดอกเบี้ยพันธบัตร และสูงกว่าราคาหุ้นในช่วงเวลาเดียวกันที่เพิ่มสูงสุดที่ 27.5 เท่า
- เหตุผลหลักเนื่องจากประเทศไทยมีการเปลี่ยนโครงสร้างจากประเทศเกษตรกรรมเป็นประเทศอุตสาหกรรม มีการลงทุนด้านอุตสาหกรรมจากประเทศญี่ปุ่นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าว
โดยเฉพาะจากข้อตกลงพลาซาที่ประเทศอังกฤษ (Plaza Accord) บังคับให้ญี่ปุ่นและเยอรมนีเพิ่มค่าเงินของตัวเองเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2528 ผลลัพธ์ทำให้ทั้ง 2 ประเทศนี้สามารถซื้อสินค้าต่างประเทศได้ในราคาถูกลงเกือบเท่าตัว
“ในทางตรงข้าม สินค้าที่ผลิตในญี่ปุ่นในสายตาของชาวโลกกลับมีราคาแพงขึ้นเท่าตัวด้วยเช่นกัน เมื่อภาคการผลิตในญี่ปุ่นทำผลกำไรลดต่ำลง จึงเกิดการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่าและขนส่งได้สะดวก ซึ่งก็คือกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะไทย”
เผยวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งเป็นครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ที่ราคาลงช่วงสั้น ๆ จากนั้นปี 2544-2564 เทรนด์ขาขึ้นลากยาว ปี 2562 พีกสุดขึ้นปีเดียว 14% ก่อนถูกโควิดสอยราคาขึ้นชะลอตัว ประเมินเทรนด์ปี 2565-2566 ที่ดินยังขึ้นราคาได้อีก 3-5%
- เทรนด์ที่ต้องจับตามองคือปรากฏการณ์ในปี 2564 ราคาวัสดุโครงสร้างคือ เหล็กเส้น ในไตรมาส 1/64 เพิ่มขึ้น 16% จึงประเมินว่าราคาค่าก่อสร้างหลังจากนี้ไปจะมีการขึ้นราคา
- ในช่วงโควิดปี 2563-2564 เศรษฐกิจตกต่ำ แต่ราคาที่ดินก็ยังมีการปรับเพิ่มขึ้น โดยปี 2563 เพิ่มขึ้น 6.5% ซึ่งถือว่าเป็นอัตราเพิ่มขึ้นที่ลดลงเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับปี 2562 เหตุการณ์คู่ขนานที่เกิดขึ้นในปี 2563 พบว่า ราคาที่อยู่อาศัยในมือผู้ประกอบการยอมลดราคาเฉลี่ย 7% เพื่อระบายสินค้าออกไปให้มากที่สุด
คาดการณ์แนวโน้มถึงสิ้นปี 2564 ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 4.6% เท่ากับยังเป็นทิศทางขาขึ้น แม้จะปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่ายุคก่อนโควิด

- สำหรับเทรนด์ราคาที่ดินในอนาคต คาดว่าปี 2565-2566 ยังปรับเพิ่มขึ้นที่ 3-5% โดยเฉลี่ย สาเหตุที่เทรนด์ราคาที่ดินเพิ่มไม่มากนักมาจากปัจจัยเศรษฐกิจไทยยังชะลอตัวต่อเนื่อง แม้การก่อสร้างรถไฟฟ้าจะเริ่มแล้วเสร็จหลายเส้นทางก็ตาม การลงทุนตรงจากต่างประเทศ (FDI-foreign direct investment) ยังมีน้อย และไหลไปลงทุนประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะ “กัมพูชาเวียดนาม อินโดนีเซีย” เนื่องจากประเมินกันว่าเศรษฐกิจไทยหลังยุคโควิดมีการฟื้นตัวช้ากว่าเพื่อนบ้าน
บทความแนะนำ
สนใจคอร์สเรียนอสังหาหรือปรึกษาด้านการลงทุนอสังหา
สถาบันสอนอสังหา Future Developer Academy